พลิกโฉมโรงเรียนด้วยกระบวนการคิดเชิงระบบ ‘GPAS 5 Steps’

พลิกโฉมโรงเรียนด้วยกระบวนการคิดเชิงระบบ ‘GPAS 5 Steps’

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการและประกาศนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เรื่อง พลิกโฉมโรงเรียนต้นแบบสร้างนวัตกรรมครูสู่นวัตกรรมนักเรียนแบบ Active Learning ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ GPAS 5 Steps เมื่อวันที่ 19 กันยายน ที่ หอประชุมคุรุสภา

โดยมีน.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่ากา ศธ. นายสุภัทร จำปาทอง ปลัด ศธ. นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ผู้บริหารระดับสูง ครูและบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนเข้าร่วมกว่า 100 คน

นายวิษณุ กล่าวว่า วันนี้เมื่อเลียวซ้ายแลขวา จะเห็นว่าประเทศเรากำลังปฏิรูปหลายอย่าง รวมถึงการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งการปฏิรูปนั้น คือการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงที่ต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป

จะทำแบบปุ๊บปั๊บ ผลุนผลัน เห็นผลใน 24 ชั่วโมง หรือใช้ความรุนแรง ไม่ได้ ถ้าทำเช่นนั้น คงจะต้องเรียกใหม่ว่าการปฏิวัติ ไม่ใช่การปฏิรูป ซึ่งการปฏิรูปเป็นเรื่องยาก เพราะเป็นการปรับเปลี่ยนจากสิ่งที่เคยชิน เคยเห็นเป็นประจำ มาเป็นอย่างอื่นที่ไม่เคยชิน

ดังนั้นการปฏิรูปต้องต่อสู้กับการคัดค้าน และต่อสู้กับว่าเคยชิน แต่ก็ต้องทำ แม้จะใช้เวลานานเท่าใดก็ตาม เพราะเราหวังผลที่เลิศ วันนี้ถึงวาระที่ประเทศไทยต้องปฏิรูปอีกครั้ง และเป็นการปฏิรูปทีเดียวพร้อมกันหลายด้าน การศึกษาเป็นเป้าหมายสำคัญของการปฏิรูปในครั้งนี้

นายวิษณุ กล่าวต่อว่า ชื่อของโครงการพลิกโฉมโรงเรียนต้นแบบสร้างนวัตกรรมครูสู่นวัตกรรมนักเรียนฯ นี้ ทุกคำมีความหมาย แต่หัวใจสำคัญ คือ เรากำลังปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ ซึ่งรวมถึงการปฏิรูปการศึกษา ที่เป็นเป้าหมายสำคัญ โดยต้องทำ 8 เรื่อง คือ 1.ปฏิรูปโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ 2.ปฏิรูปโรงเรียน 3.ปฏิรูปครู 4.ปฏิรูปนักเรียน 5.ปฏิรูปหลักสูตร 6.ปฏิรูปตำรา 7.ปฏิรูปการจัดการเรียนการสอน และ 8.ปฏิรูปการวัดผล ประเมินผล ถึงจะปฏิรูปการศึกษาได้

พลิกโฉมโรงเรียนด้วยกระบวนการคิดเชิงระบบ ‘GPAS 5 Steps’

“ แต่ถ้าจำเป็นต้องเลือกให้ทำก่อน ก็ต้องทำข้อ 7 คือ การปฏิรูปการจัดการเรียนการสอน โดยเปลี่ยนจากการเรียนการสอนแบบ Personalized Learning ที่ครูเป็นผู้สอน และนักเรียนรับฟัง มาเป็นการสอนแบบ Active Learning ให้ครูจะเป็นเพียงผู้อำนวยการสอน ให้ความความสะดวก และแนะนำให้เด็กได้เรียนรู้แบบเชิงรุก นักเรียนได้คิดเป็นทำเป็นจนกลายเป็นนวัตกรรม ที่จะขับเคลื่อนประเทศได้ในอนาคต และถือเป็นการผลิกโฉมการปฏิรูปการศึกษาได้อย่างแท้จริง ซึ่งต้องขอขอบคุณกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่ให้ความสำคัญกับการเรียนแบบ Active Learning โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ต้องเร่งพัฒนาโรงเรียนต้นแบบฯประจำจังหวัดให้ครบทุกจังหวัด ในปีการศึกษา 2566 และตั้งความหวังไว้ว่า ผลสำเร็จของการดำเนินงานตามแนวทางที่กล่าวถึงนี้ จะยกระดับคุณภาพการศึกษาและพัฒนาสังคมของประเทศ ให้เป็นสังคมฐานความรู้ที่นำไปสู่การพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีสู่ระดับมาตรฐานสากลที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศชั้นนำของโลกต่อไป” นายวิษณุ กล่าว

ด้านน.ส.ตรีนุช กล่าวรายงานตอนหนึ่ง ว่า การนำเสนอนวัตกรรมด้านการเรียนการสอน ที่เป็นผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนและครู ในวันนี้ เป็นผลสำเร็จจากการดำเนินโครงการความร่วมมือ “พัฒนานวัตกรรมครูสู่นวัตกรรมผู้เรียน” ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู เพื่อยกระดับคุณภาพทางการศึกษาที่ให้ความสำคัญในการเรียนการสอนรูปแบบ Active Learning

รวมถึงการจัดเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่ และต่อยอดการพัฒนานวัตกรรมครูสู่นวัตกรรมผู้เรียนที่มีความหลากหลาย และเกิดประสิทธิผลในการจัดการเรียนการสอนเพิ่มมากยิ่งขึ้น

“ศธ. โดย สพฐ.ได้ดำเนินโครงการฯ ทดลองในโรงเรียนที่เป็นจังหวัดต้นแบบ เขตพื้นที่ภาคกลาง รวม 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานครนครปฐม สมุทรปราการพระนครศรีอยุธยาปทุมธานี สมุทรสาครสุพรรณบุรี สระบุรี นครสวรรค์ และ อ่างทอง โดยมีโรงเรียนในสังกัด สพฐ.เข้าร่วม 29 โรงเรียน และโรงเรียนในเครือข่ายอีก 4 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 33 โรงเรียน ครอบคลุมโรงเรียนขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ได้ดำเนินการมากว่า 9 เดือน ปรากฏผลสำเร็จที่ส่งผลให้คุณครูสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ได้มากกว่า 1,500 นวัตกรรม” น.ส.ตรีนุช กล่าว

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ prolocolidomarini.com

UFA Slot

Releated